https://www.thaistudyabroad.com

ระบบการศึกษาสหรัฐอเมริกา

 

ระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา

ระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกามีหลายสาขาวิชาให้นักศึกษาชาวต่างชาติได้เลือกศึกษา ทั้งที่มาจากต่างประเทศและแม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง มีโรงเรียน โปรแกรม และสถานที่หลากหลาย ให้นักศึกษาเลือกซึ่งอาจทำให้นักศึกษาสับสน เพื่อช่วยให้การตัดสินใจในตัวเลือกเหล่านั้นง่ายขึ้น นักศึกษาชาวต่างชาติจะต้องศึกษาอย่างละเอียดว่าแต่ละโปรแกรมและแต่ละที่ตั้งของสถานศึกษาจะสามารถเติมเต็มเป้าหมายของนักศึกษาได้อย่างไร ในการที่จะทำการตัดสินใจนี้ นักศึกษาจะต้องรู้ว่าระบบการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดการอย่างไร

เริ่มต้นที่การตรวจดูโครงสร้างของการศึกษา

ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ใช้เวลา 12 ปี ในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สำหรับระดับมัธยมศึกษา (High School) อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตร นักศึกษาสามารถเข้าศึกษาได้ในวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย, โรงเรียนอาชีวะ โรงเรียนเลขานุการ หรือโรงเรียนด้านวิชาชีพอื่นๆ

โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (Primary and Secondary School)

เด็กชาวอเมริกันเริ่มการศึกษาในระดับประถมศึกษาเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ ซึ่งจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 5 หรือ 6 ปีจากนั้นก็ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา สำหรับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษานั้นประกอบด้วยหลักสูตร 2 ปี, 3 ปี และ 4 ปี อาจจะเรียกว่าการศึกษาระดับกลาง (ส่วนใหญ่เรียกว่า “high school”) ชาวอเมริกันเรียกการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาทั้ง 12ปี นี้ว่า “เกรด” (เกรด 1 – 12)

การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น (Higher Education)

หลังจากที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา (เกรด 12) นักศึกษาชาวอเมริกันอาจจะทำการศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งการศึกษาในระดับเหล่านี้เรียกว่า “การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น”  การศึกษาในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยจะได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือที่รู้จักกันว่า “การศึกษาระดับปริญญาตรี” การศึกษาที่เหนือกว่าระดับปริญญาตรี มักเรียกกันว่า “ระดับปริญญาโท” หรือ “บัณฑิตศึกษา” การศึกษาระดับนี้ประกอบด้วย วิชาด้านกฏหมาย เภสัชศาสตร์ บริหารธุรกิจ(M.B.A.) และ Ph D. (ปริญญาเอก)

คุณสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าได้ที่ไหนในประเทศสหรัฐอเมริกา

วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ (State College or University)

โรงเรียนของรัฐได้รับการสนับสนุนและดำเนินการโดยรัฐบาลในท้องถิ่น แต่ละรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งมหาวิทยาลัย และอาจจะรวมถึงวิทยาลัยหลายแห่งด้วย บางโรงเรียนจะมีคำว่า “state” อยู่ในชื่อโรงเรียนด้วย

วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเอกชน ( Private College or University)

โรงเรียนเหล่านี้จะดำเนินการอย่างสันโดษ และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล โดยปกติแล้วค่าเล่าเรียนจะสูงกว่าโรงเรียนของรัฐบาล มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเอกชนเหล่านี้มักจะมีขนาดเล็กกว่าโรงเรียนของรัฐบาล

มหาวิทยาลัยเอกชน

มหาวิทยาลัยเอกชน เป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ดำเนินงานโดยรัฐบาล แต่หลายแห่งจะได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการลดหย่อนภาษี และการให้ทุนการศึกษาและทุนกู้ยืมเงินจากรัฐบาลแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยเหล่านี้ จะได้รับเงินทุนจากเอกชนโดยอาศัยการบริจาคเงินของสมาคมศิษย์เก่า ทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับคณะ และค่าธรรมเนียมการศึกษา นักศึกษาในอเมริกาจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน เนื่องจากจะมีทรัพยากรเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานวิจัยต่างๆ และขนาดของชั้นเรียนที่เล็ก มหาวิทยาลัยเอกชนสามารถดึงดูดและรักษาอาจารย์วิทยากรประจำคณะที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาของตนไว้ได้ ประสบการณ์ในการสอนจะได้รับการเสริมด้วยประสบการณ์ที่หลากหลายของวิทยากรภายนอกชั้นเรียน คุณอาจพบว่ามีหลักสูตรการศึกษาที่ไม่พบเห็นที่อื่นหรือมีความแปลกใหม่เปิดสอนในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเอกชน สถาบันอุดมศึกษาที่มีการแข่งขันสูงและเข้าได้ยากมากที่สุดบางแห่งจะเป็นสถาบันเอกชน ยกตัวอย่างเช่น U.S. News & World Report ได้ทำการจัดอันดับสิบมหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมในสหรัฐอเมริกาประจำปีค.ศ. 2012 (โดยเรียงตามลำดับ) ไว้ดังนี้: มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอเนียร์ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และมหาวิทยาลัยดุ๊ก

วิทยาลัยระดับอนุปริญญา

วิทยาลัยระดับอนุปริญญาจะรับนักศึกษาที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา นักศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาระดับอนุปริญญา บางวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือชุมชน บางแห่งก็เป็นของเอกชน คุณจะต้องหาข้อมูลว่าการศึกษาในระดับอนุปริญญาจะทำให้คุณมีคุณสมบัติตรงกับงานที่อยู่ในประเทศคุณหรือเปล่า ในบางประเทศนักศึกษาจะต้องมีปริญญาตรีจึงจะได้ทำงานที่ดี ดังนั้นนักศึกษาที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยระดับอนุปริญญา มักจะทำการศึกษาต่อที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยสี่ปี ซึ่งพวกเขาจะสามารถได้รับปริญญาตรีในระยะเวลา 2 ปีหรือมากกว่า

วิทยาลัยชุมชน Community College

วิทยาลัยชุมชนเป็นวิทยาลัยของรัฐบาลหรือชุมชนซึ่งใช้เวลาในการศึกษา 2 ปี วิทยาลัยจะให้บริการแก่ชุมชนในท้องถิ่น เมืองหรืออำเภอ นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นคนชุมชนที่อาศัยอยู่ที่บ้าน หรือนักศึกษาภาคค่ำที่ต้องทำงานในตอนกลางวัน วิทยาลัยชุมชนยินดีที่จะรับนักศึกษาชาวต่างชาติเข้ามาทำการศึกษา หลายแห่งจะเสนอบริการพิเศษให้กับนักศึกษา เช่น การสอนพิเศษฟรี และหลายแห่งก็มีการเสนอหลักสูตร ESL หรือหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษแบบเข้มข้นอีกด้วย

วิทยาลัยชุมชนบางแห่งมีที่พักให้นักศึกษาอยู่ และมีบริการให้คำปรึกษาที่นักศึกษาชาวต่างชาติอาจต้องการ คุณควรตรวจสอบว่าการที่คุณจะมาทำการศึกษาในวิทยาลัยชุมชนนั้นเพียงพอที่จะทำให้คุณได้งานในประเทศของคุณหรือไม่ ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่นั้นให้การยอมรับการศึกษาจากวิทยาลัยชุมชน แต่ก็ไม่ใช่ทุกองค์กร

โรงเรียนเฉพาะด้าน

โรงเรียนเฉพาะด้านจะฝึกนักศึกษาในสาขาวิชา เช่น ศิลปะ ดนตรี วิศวกรรม ธุรกิจ และด้านวิชาชีพอื่นๆ บางแห่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย บางแห่งเป็นโรงเรียนเฉพาะด้านที่แยกออกมา และในบางแห่งมีการเสนอหลักสูตรปริญญาโทด้วย

สถาบันเทคโนโลยี

สถาบันเทคโนโลยีเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรการศึกษาอย่างน้อยสี่ปีในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางที่มีหลักสูตรปริญญาโท และบางที่มีหลักสูตรระยะสั้นให้เลือกศึกษาด้วย

สถาบันทางเทคนิค

สถาบันทางเทคนิคจะฝึกนักศึกษาในสาขาวิชาเช่น เทคโนโลยีการแพทย์ หรือวิศวกรรมอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าหลักสูตรอาจเตรียมความพร้อมให้คุณในอาชีพที่คุณต้องการ แต่วุฒิการศึกษาอาจจะหรืออาจจะไม่เทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาในระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ถ้าคุณต้องการโอนย้ายไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คุณควรรู้

ว่าบางวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยไม่รับผลการศึกษาจากสถาบันทางเทคนิค ถ้าคุณกำลังตัดสินใจที่จะศึกษาต่อที่สถาบันทางเทคนิคนี้ คุณควรศึกษาว่ารัฐบาลในประเทศของคุณ และวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ยอมรับผลการศึกษาจากสถาบันนี้หรือไม่

มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยขององค์กรด้านศาสนา

มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกาถูกก่อตั้งโดยกลุ่มศาสนา อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและองค์กรด้านศาสนาอาจมีความยืดหยุ่นมาก บางครั้งโรงเรียนเหล่านี้ต้องการรับเฉพาะสมาชิกขององค์กรทางศาสนาเข้ามาเป็นนักศึกษาเท่านั้น แต่เกือบทุกโรงเรียนก็ยินดีที่จะรับนักศึกษาจากทุกศาสนาทุกความเชื่อเข้ามาทำการศึกษา

ตามธรรมเนียมแล้ว นักศึกษาที่เข้าทำการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาต้องลงเรียนพระคัมภีร์ และเข้าร่วมพิธีทางศาสนาต่างๆในโบสถ์ แต่แนวทางเหล่านี้เริ่มทำกันน้อยลงแล้ว

การศึกษาในระดับปริญญาตรี

วิชาที่เรียน

ปกติแล้วนักศึกษาชาวอเมริกันจะศึกษาหลายๆวิชาก่อนในขณะที่ทำการศึกษาอยู่ในวิทยาลัย นักศึกษาหลายคนจะไม่ลงเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะจนกว่าจะเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาโท สองปีแรกของการศึกษาในวิทยาลัย เรียกกันว่า ‘freshman’ และ ‘sophomore’ นักศึกษาที่ทำการศึกษาอยู่ในปีแรกจะถูกเรียกว่า ‘freshman’ และนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในปีที่สองจะถูกเรียกว่า ‘sophomore’ โรงเรียนบางแห่งให้นักศึกษาในปีแรกและปีที่สองลงเรียน ”วิชาที่จำเป็น” ก่อนในหลายๆสาขาวิชา เช่น วรรณคดี วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ freshman และ sophomore เป็นที่รู้จักกันในนาม “underclassmen”

Grade และ Course

คำว่า grade มีหลายความหมายและการใช้งาน ใช้บอกระดับปีของการศึกษา ชาวอเมริกันเรียกปีแรกในโรงเรียนว่า ‘เกรด 1’ – คำว่า grade ยังหมายถึงระดับผลการเรียน เช่น เกรด B หรือการได้เกรดดีในการสอบ ดังนั้นชาวอเมริกันสามารถพูดได้ว่า “ตอนเรียนเกรด 9 เกรดของฉันอยู่ในระดับเฉลี่ยทั่วไป”

คำว่า course โดยปกติจะหมายถึง วิชา เช่น นักศึกษาจะต้องศึกษาวิชาบัญชีเป็นเวลาหนึ่งเทอมหรือภาคเรียน course of study หมายถึงหลักสูตรเต็มที่ประกอบไปด้วยหลายๆวิชา เช่น บริหารธุรกิจ เป็น course of study และวิชาบัญชีเป็นหนึ่งในวิชาของหลักสูตร

Junior และ senior หรือปีสามและปีสี่ คือ “upper classes” นักศึกษาในปีเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในนาม “juniors” และ “seniors”- “upperclassmen” เมื่อเริ่มศึกษาในปีที่สาม (junior) นักศึกษาจะต้องเลือกศึกษาในสาขาวิชาหลัก จะต้องลงทะเบียนวิชาเรียนในแผนกหรือสาขานั้นๆ ในโรงเรียนบางแห่ง นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาในสาขารองได้ และยังมีหลายวิชาสำหรับให้นักศึกษาได้เลือกศึกษาเป็นวิชาเลือกอีกด้วย

นักศึกษาแต่ละคนจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่สอนวิชาหลักต่างๆให้กับนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาจะคอยช่วยเหลือนักศึกษาในการเลือกวิชาที่จะลงเรียน

สำหรับนักศึกษาชาวต่างชาตินั้นก็จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยเหมือนกัน ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยเหลือนักศึกษาชาวต่างชาติในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมและการใช้วิถีชีวิตแบบอเมริกัน ให้ความช่วยเหลือด้านวีซ่าและปัญหาด้านเอกสารอื่นๆ รวมถึงจัดกิจกรรมต่างๆให้กับนักศึกษาชาวต่างชาติอีกด้วย

การศึกษาในห้องเรียน

การจัดห้องเรียนมีตั้งแต่การจัดห้องเรียนที่เป็นห้องบรรยายใหญ่โต มีนักศึกษาหลายร้อยคนเข้ามาศึกษา ไปจนถึงห้องเรียนขนาดเล็กและห้องที่มีการอภิปรายที่มีจำนวนนักศึกษาเพียงไม่กี่คน นักศึกษาที่ลงเรียนวิชาบรรยายจะถูกแบ่งให้เป็นกลุ่มเรียนที่เล็กลง กลุ่มเหล่านี้จะมีการอภิปรายและประชุมปรึกษากันเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้ศึกษาไปแล้ว

อาจารย์ผู้สอนมักจะมอบหมายให้นักศึกษาอ่านตำราหรืออ่านหนังสือเรื่องอื่นในแต่ละสัปดาห์ และยังให้นักศึกษาส่งรายงานหลายฉบับในแต่ละเทอม คุณจะต้องอ่านหัวข้อที่ให้ไปมาก่อนที่จะเข้าชั้นเรียนเพื่อจะได้เข้าใจบทเรียนและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องเรียนได้ และนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จะถูกคาดหวังให้ใช้เวลาในห้องทดลองด้วย

ปีการศึกษา

ปีการศึกษามักจะเริ่มในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน และดำเนินต่อไปจนถึงเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติที่จะเริ่มการศึกษาที่มหาวิทยาลัยในฤดูใบไม้ร่วง สาเหตุหลักที่นักศึกษาใหม่เข้ารับการศึกษาในช่วงเวลานี้เพราะว่านักศึกษาจะได้เกาะกลุ่มและปรับตัวหาเข้ากัน ดังนั้น หลายสาขาวิชาถูกออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษาได้ลงเรียนแบบต่อเนื่องกันไป โดยเริ่มศึกษาในฤดูใบไม้ร่วงและต่อเนื่องกันไปตลอดทั้งปี ปีการศึกษาในโรงเรียนหลายแห่งถูกแบ่งออกเป็นสองเทอม บางโรงเรียนแบ่งออกเป็นสามเทอม ที่เรียกกันว่า ระบบ “trimester” และยังมีบางโรงเรียนที่มีปีการศึกษาเป็นระบบ “quarter” ซึ่งมีสี่เทอม และมีการศึกษาในภาคฤดูร้อนไว้เป็นทางเลือกอีกด้วย

หน่วยการเรียน

ในแต่ละวิชาจะมีตัวเลขหน่วยกิตหรือจำนวนชั่วโมงกำกับ ตัวเลขเหล่านี้คล้ายกับจำนวนชั่วโมงเรียนที่นักศึกษาใช้ในห้องเรียนในแต่ละสัปดาห์ แต่ละวิชาจะมีหน่วยการเรียน 3 – 5 หน่วยกิต หลักสูตรที่เรียนแบบเต็มเวลาในโรงเรียนส่วนใหญ่ มี 12 หรือ 15 ชั่วโมง (สี่หรือห้าวิชาต่อเทอม) นักศึกษาชาวต่างชาติควรจะลงศึกษาหลักสูตรเต็มเวลาในแต่ละเทอม

การโอนย้าย

ถ้านักศึกษาสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งใหม่ก่อนจะจบการศึกษา โดยปกติแล้วนักศึกษาสามารถนำจำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาในโรงเรียนแรกมาใช้เพื่อทำการศึกษาในมหาวิทยาลัยใหม่ให้จบได้ หมายความว่านักศึกษาสามารถโอนย้ายไปศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่นได้และยังคงสามารถทำการศึกษาให้จบในระยะเวลาที่เหมาะสม

ผลการเรียน

อาจารย์ในแต่ละวิชาให้คะแนนหรือ “เกรด” นักศึกษาแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้:

  • การมีส่วนร่วมในห้องเรียน – การอภิปราย, ถามคำถาม, สนทนา นักศึกษาจะถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการอภิปรายในชั้นเรียน โดยเฉพาะในวิชาสัมนา สิ่งนี้ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินผลการเรียนของนักศึกษา
  • การสอบกลางเทอม – โดยปกติจะทำการสอบในระหว่างเวลาเรียน
  • หนึ่งงานวิจัยหรือมากกว่านั้น หรือรายงาน หรือผลการทดลองในห้องทดลอง
  • การสอบแบบสั้นหรือการคำถามแบบสั้น – ซึ่งบางครั้งอาจารย์จะไม่แจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า การสอบแบบนี้ไม่มีผลต่อผลการเรียนมากนัก แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมายและเข้าเรียนอย่างต่อเ
  • การสอบปลายปี – จัดขึ้นหลังจากการเรียนการสอนในชั่วโมงสุดท้าย

การลงเรียนล่วงหน้า

บางมหาวิทยาลัยในและวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ให้โควต้าแก่นักศึกษาที่มีผลงานดีในระดับมัธยมศึกษา บางโรงเรียนให้สิทธิ์ในการลงเรียนล่วงหน้าแก่นักศึกษาที่พิสูจน์ได้ว่าพวกเขาสามารถเข้าศึกษาในระดับวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพในบางวิชา หมายความว่านักศึกษาที่เพิ่งเข้าศึกษาในวิทยาลัย –freshman – สามารถลงเรียนวิชาที่เปิดสอนสำหรับนักศึกษาปีสองได้ ทางโรงเรียนอาจจะขอให้นักศึกษาทำการสอบเพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขาสามารถศึกษาในระดับของนักศึกษาปีสองได้ หรือโรงเรียนจะให้โควต้าแก่นักศึกษาที่มีคะแนนสูงในการสอบเข้าวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่ได้เกรด “เอ” มักจะได้รับโควต้า

ศึกษาต่อหลังจบปริญญาตรี

ในปัจจุบัน การที่จะหางานที่ดีทำได้นั้น ผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยอาจจะต้องพิจารณาการศึกษาในระดับที่สูงไปไว้ด้วย นักศึกษาชาวต่างชาติจากบางประเทศได้รับอนุญาตให้ศึกษาในต่างประเทศได้ เฉพาะในระดับปริญญาโทเท่านั้น เนื่องจากความต้องการในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน คุณควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประกาศนียบัตรที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการสมัครงานในประเทศของคุณ ก่อนที่คุณจะทำการสมัครเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา

ปริญญาโท

นักศึกษาชาวต่างชาติส่วนใหญ่ สามารถหางานที่ตัวเองต้องการได้หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาที่เป็นที่ต้องการมีตัวอย่างเช่น วิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, หรืองานด้านสังคม M.B.A. หรือปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจนั้นเป็นวิชาที่ได้รับความนิยมสูง ซึ่งปกติใช้เวลาเรียน 2 ปี มีตัวอย่างของบางหลักสูตรดังต่อไปนี้ สื่อสารมวลชน ซึ่งใช้เวลาในการศึกษาเพียงหนึ่งปีเท่านั้น

ในหลักสูตรปริญญาโท นักศึกษาที่เลือกศึกษาวิชา เช่น ประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็เพื่อจะทำการศึกษาต่อไปจนถึงระดับปริญญาเอก (ดร.)

การศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทนั้น จะใช้เวลาในการศึกษาส่วนใหญ่ในห้องเรียน เพราะนักศึกษาในระดับปริญญาโทเหล่านี้จะต้องเตรียมรายงานการวิจัย ที่เรียกว่า “วิทยานิพนธ์”

ปริญญาเอก

โรงเรียนส่วนใหญ่ถือว่าการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเป็นก้าวแรกของการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก (ดร.) แต่บางโรงเรียนนักศึกษาสามารถเตรียมตัวที่จะเรียนระดับปริญญาเอกได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องได้ปริญญาโทก่อน อาจจะใช้เวลาเรียน 3 ปีหรือมากกว่านั้นเพื่อที่จะได้ปริญญาเอก สำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติ อาจจะใช้เวลาศึกษาประมาณห้าหรือหกปี

สำหรับสองปีแรก นักศึกษาปริญญาเอกส่วนใหญ่จะเข้าศึกษาในห้องเรียนและห้องสัมนา ในปีต่อมานักศึกษาจะเริ่มงานวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยวิสัยทัศน์ การออกแบบ หรืองานวิจัยที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์มาก่อน

ปริญญานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกนั้น ต้องมีการอภิปรายและสรุปผลของทุนวิจัยในแต่ละหัวข้อ มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ ต้องการนักศึกษาที่ความรู้ในด้านการอ่านภาษาต่างประเทศได้สองภาษา ผู้ใช้เวลาศึกษาในห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ ผู้ผ่านการทดสอบคุณสมบัติที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาเอก และผ่านการสอบพูดเกี่ยวกับหัวข้อที่จะใช้ทำปริญญานิพนธ์

Powered by Facebook Comments free add-on for most feature packed social sharing plugin for WordPress Easy Social Share Buttons

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com
error: Content is protected !!
Send this to a friend